วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

หยุดก่อน !! นี่คือคุณสมบัติมาตรฐานที่รองเท้าสเก็ตที่ดีพึงมี

หลังจากหนีมาอยู่ต่างจังหวัด ก็มีเวลามานั่งทำบทความ

ที่เล็งว่าจะทำนานแล้ว

เรื่องการแยกแยะ รองเท้าสเก็ต ที่มีเต็มไปหมด ในบ้านเรา

ผมรู้สึกว่า เวลาจะไปซื้ออะไรซักอย่าง มันเป็นปัญหานะ

ยิ่งไปเจอร้านที่ขายสเก็ต อัดข้อมูลเข้ามา มากมาย

จะจริง จะเท็จ เราไม่มีเวลาวิเคราะห์ เพราะเชื่อว่า กำลังมึน

ไหนจะแบบ ไหนจะสี ไหนจะรุ่น ราคาอีก

อ๊วกกกกกก

เอานี่ไปครับ

คัมภีร์ 13 อรหันต์ เอาไว้เป็นพื้นฐาน เลือกซื้อสเก็ต

ผมออกตัวไว้ก่อน ว่า สเป็กของโรลเลอร์เบลดที่ผมทำไว้

เป็นเกณฑ์มาตรฐานนะครับ ที่ได้ใช้แล้วต้องพอใจ ไม่ได้อิงจากระดับโปรคู่ละหมื่นเน้อ

แต่ทั้งนี้ตัวรองเท้าสเก็ตที่ผมเอามาเป็นเกณฑ์ ก็มีสเป็กที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับโรลเลอร์เบลดรุ่นเริ่มต้นในท้องตลาดทั่วไป จะต่างกันก็เพียงเรื่องตัวบูทที่สเก็ตรุ่นโปรจะเป็นหนังแท้หรือเทียม ทำให้สเก็ตรุ่นโปรมีน้ำหนักที่เบากว่า และเพิ่มสายรัดมาอีก 1 เท่านั้นเองครับ

ถ้าใครเอาราคาเป็นหลัก ประมาณถูกๆๆๆๆๆ เลย อันนั้น

ก็ซื้อไปเถอะ จะดีไม่ดี ผมว่า คงไม่ใช่ประเด็น ผลจะเป็นไงก็คงทำใจรับได้

แต่นี่ ที่ผมทำ เพราะปัจจุบัน มีรองเท้าสเก็ตมากมาย

สำคัญที่สุดคือ ราคาไม่ถูกเลย

จะรู้ได้อย่างไรว่า เงินหลายพัน ที่เราเสียไป มันคุ้มกับสิ่งที่ได้มา

เพราะหากเรารู้ เราสามารถเลือกโรลเลอร์เบลดที่ได้สเป็กเดียวกัน

แต่ราคาถูกกว่า

ซื้อแพงแต่ได้ของทั่วไปมา มันเจ็บตรงนี้

              หรือบางคน อาจถูกข้อมูลจากผู้ขาย ปั่นจนมึน สุดท้ายได้สเก็ตแบบธรรมดา
คุณภาพแย่ๆมา แต่เค้าบอกว่า นี่คือได้มาตรฐาน เช่น วิ่งๆล้อหลุด ยืนเอียงตลอด มีเสียงดังเป็นซาวน์ดประกอบตลอดทาง หรือเบอร์ใหญ่กว่าเท้า ไรแบบนี้

นี่ครับ 13 อรหันต์ ข้อควรจำ เพื่อเช็คสเป็กของสเก็ต ว่าได้มาตรฐานแค่ไหน


วนตามเข็ม นาฬิกาเลย

1.สายรัด เป็นจุดสำคัญ เสียบ่อยหากใช้แบบพลาสติกแข็ง ลองงอดู ถ้ามันแข็งๆกระด้างเหมือนจะหัก ก็อย่าซื้อ

2.ไม่ซีเรียสนัก แต่การถอดบูทได้ ก็ทำให้การใช้งานยืดหยุ่นดี บูทอ่อนควรมีความหนาพอเหมาะ ไม่บาง เพราะจะทำให้เกิดแผลกดทับได้ในเวลาใช้งาน
บูทอ่อนบางมาก จะทำให้เจ็บมากเวลาใส่
3.สเก็ตควรออกแบบให้สวมใส่ง่าย และมีหูหิ้ว

4.มีระบบล๊อกข้อเท้าให้ตรงเป๊ะเวลาใช้งาน สเก็ตที่ใช้วัสดุไม่ดี จะทำให้ยืนข้อเท้าเอียงมากๆ ส่งผลเสียโดยตรงกับข้อเท้า และประสิทธิภาพการเล่น
ข้อเท้าเอียงแบบนี้ทั้งเจ็บ ทั้งอันตราย ถ้าล้มแรงๆท่านี้ ข้อเท้าหักได้

5.แม้จะมีระบบล๊อกข้อเท้า แต่ต้องงอไปหน้าหลังได้ 30 องศา ลองเอามือขยับดูนะ ถ้ามันล๊อกตาย ก็วางสเก็ตคูนั้นลงซะ

6.ให้ที่ร้านถอดล้อ แกะดูแกนล้อเลยครับ ถ้าเป็นพลาสติกสีดำ ก็ just say no เอาแกนล้ออลูมิเนียมเท่านั้น

7.สืบเนื่องจากข้อข้างบน ชิ้นส่วนขับเคลื่อนช่วงล่าง ต้องเป็นอลูทุกชิ้น นี่ถือเป็นเครื่องยนต์ หรือหัวใจเลยครับ และมันต้องรับน้ำหนักตัวของคนใส่ ใช้พลาสติกไม่ดีมั้ง

8.การยึดล้อสเก็ต ใช้แบบยึดน๊อตเข้ากับเฟรม อันนี้สเก็ตรุ่นโปรๆ ก็ใช้ระบบนี้กันหมดครับ โอเคที่สุดแล้ว

9.สังเกตความหนา และความแข็งแรงของเฟรม ต้องปึ๊ก บีบด้วยมือไม่งอโค้ง แต่น้ำหนักเบา ถ้าเอามือบีบแล้วเฟรมยุบ หรือขันล้อแน่นๆเฟรมก็ยุบตาม ก็อย่าไปยุ่งครับ

10.เฟรมควรเป็นอลูมิเนียม และขึ้นรูปแบบชิ้นเดียว คือถอดออกมาเป็นเฟรมได้แบบในรูป หากถอดไม่ได้ ใช้ตอกหมุดยึด หรือถอดมาแล้วเป็นหลายๆชิ้น ก็ถือว่า ไม่น่าใช้
เฟรมแบบ 2 ชิ้น พร้อมตอกหมุด ทำให้ปรับอะไรไม่ได้

11.น๊อตยึดล้อ เป็นระบบน๊อตหัวเดียว แบบนี้ใช้งานง่าย ขันก็ง่าย

12.หน้าหรือปากรองเท้าโรลเลอร์เบลด ไม่แคบจนใส่ยาก หรือกว้างจนเห็นบูทอ่อนมากๆเวลาใส่ รู้สึกไม่กระชับ

13.ปรับเปลี่ยนใช้งานได้หลากหลาย เพิ่มความคุ้มค่าได้แค่ไหน

ตอนแรกว่าจะจบ แต่นึกออกอีกหน่อย แถมให้ครับ

14.อย่าเลือกสเก็ตที่วิ่งแล้วมีเสียง ยิ่งใช้มันจะยิ่งดังขึ้นเรื่อยๆ

15.อย่าเลือกโรลเลอร์เบลดที่มีน้ำหนักมาก เป็นปัญหาทั้งการพกพาและใช้งาน

16.ถ้าท่านไม่ใช่วัยกำลังโต อย่าเอาเบอร์ที่ใหญ่กว่าเท้าท่านมา จงเอาสเก็ตที่เบอร์พอดี อย่าเชื่อคนขายใดๆ เพราะปัญหาจะสถิตย์อยู่กับท่าน ไม่ใช่เขา

 17.ถ้าร้านที่ท่านไปซื้อ เค้าไม่แกะชิ้นส่วนให้ดู หรือไม่ให้ทดสอบสเก็ต ก็ถอยๆมาก่อน แต่ยกเว้นเวลาไปซื้อในห้างนะครับ เค้าไม่ให้แกะดูแน่นอน ก็ดูๆด้วยสายตาก่อนละกันครับ

             ผมเอารองเท้าสเก็ต HADN รุ่น DX ราคา 3990 บาทเป็นเกณฑ์ ซึ่งเป็นสเก็ตสำหรับมือใหม่ ไปจนถึงระดับกลาง

หากท่านเจอสเก็ตที่ รูปทรง หน้าตาคล้ายๆกัน ลองทดสอบหัวข้อต่างๆดู หากคุณสมบัติออกมาได้น้อยกว่า แต่ราคาเท่ากัน หรือสูงกว่า ให้ระวังว่ากำลังอาจเจอสเก็ตของแพง

หรือหากสเก็ตคู่ที่ดูราคาถูกกว่า ให้ดูเป็นส่วนๆ ว่าทำไม เพราะการผลิตแต่ละชิ้นส่วนส่งผลให้คุณภาพและราคาต่างกันแน่นอนครับ

วิธีที่ง่ายที่สุด ก็คือดูให้ละเอียดขึ้น จากคู่มือที่ผมทำขึ้นมาชิ้นนี้แหละครับ 
 

            หรือหากสเป็กไม่ค่อยตรงตามนี้ แต่ราคาใกล้เคียงกัน ก็ต้องลองคิดใหม่ดีๆ ก่อนจะที่จะเข้าตำรา เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย

            เพราะสเก็ตคงไม่ได้ซื้อกันบ่อยๆ และซื้อมาจะเปลี่ยน จะอะไรก็ไม่ง่ายเหมือนตอนซื้อนะครับ


          เพียงเท่านี้ เราก็แทบจะเหมือนมือโปรในการเลือกซื้อสเก็ตแล้วละครับ แยกแยะได้ถึงความมีมาตรฐานหรือด้อยมาตรฐาน รวมทั้งวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าของราคาเพื่อการตัดสินใจซื้อ

เล่นสเก็ตให้สนุกครับ


ณัฐวัฒน์ ศิลป์ปภัสร์
SPP DIRECTOR 
SKATE PRODUCT DEVELOPER


ศูนย์ค้าส่งและปลีกรองเท้าสเก็ตคุณภาพ HADN

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความเห็นกันได้เต็มที่นะครับ