ปัญหาที่พ่อแม่ไม่รู้จักลูกของตัวเอง เป็นเรื่องทั้งใกล้และใกลตัวในขณะเดียวกันครับ และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีส่วนยับยั้งพัฒนาการในเด็กไปจนโตได้เลยทีเดียว
การรู้จักคนๆนึง มันคือการรู้จักทั้งระบบภายใน และระบบภายนอก
และช่วงระยะเวลาที่ผมให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ช่วย 0-7 ปี เพราะปัญหาเกิดจากจุดนี้มากที่สุด และจะส่งผลไปยังระยะเวลาที่เหลืออีกชั่วชีวิต
มีพ่อแม่หลายท่าน บอกกับผมทันทีว่า ทำไมพ่อแม่จะไม่รู้จักลูกตัวเอง !!??
ผมจึงถามกลับไปเบาๆว่า ลูกคุณแม่จะพลิกตะแคงตัวตอนกี่เดือน เริ่มคลานตอนกี่เดือน หรือ เริ่มเกาะยืน เกาะเดิน ก็ได้
............
เงียบ ไม่มีคำตอบครับ
สรุปประเด็นของผมคือ คำว่าพ่อแม่ไม่รู้จักลูกตัวเองหมายถึง พ่อแม่ไม่รู้จักกลไกเด็กภายในไงครับ ระบบของร่างกาย สมอง ความเป็นไปต่างๆ เรารู้จักแค่ภายนอก หน้าตา ชื่อ ชอบกินไม่ชอบกินไรแค่นั้น จึงทำให้การเลี้ยงดูไม่สัมพันธ์กับระบบอย่างที่ควรจะเป็น การส่งเสริมทักษะที่พ่อแม่คิดไว้ (คิดเอง ) แทนที่จะทำให้เด็กเก่งขึ้นอย่างที่พ่อแม่คาดหวัง แต่แล้วกลับนำมาซึ่งปัญหาด้านพัฒนาการเด็ก
ถามว่า เรื่องนี้มันสำคัญยังไง หรือมันมีที่มาที่ไปยังไง
ตอบดังนี้ครับ
เมื่อเราไม่รู้ขั้นตอน และกระบวนการ เราก็จะทำอะไรบางอย่างที่ไปขัดขวาง หรือยับยั้ง พัฒนาการของเด็ก โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เรียกว่า เลี้ยงลูกไม่ถูกหรือไม่เป็นนั่นเอง
ลองดูเหตุการณ์ ในกรอบข้างล่างนะครับจะทำให้เห็นภาพ ได้ง่าย
หมายเหตุ อาการปัญหาที่ผมลงไว้ บางคนอาจมีอาการเดียว บางคนก็อาจมีได้หลากหลาย
จากตัวอย่าง คงพอทำให้เห็นภาพว่า กระบวนการของสมองถูกขัดขวางเพราะความไม่เข้าใจในระบบพัฒนาการ ในระหว่าง 0-7 ขวบนั้น เป็นช่วงที่สมองจะกระตุ้นให้ร่างกายเด็กทำกิจกรรมอะไรหลายๆอย่าง ที่พ่อแม่ไม่เข้าใจ และด้วยวัฒนธรรม การเลี้ยงดูที่ส่งต่อกันมาแบบไทยๆ นั้น มักจะใช้ "การห้าม" หรือไม่ก็ "เอาอกเอาใจ ทำให้หมด ลูกนั่งเฉยๆ"
ลองแวะมาดูที่ลาน skate experience นะครับ จะเจอพ่อแม่ที่นั่งใส่รองเท้าสเก็ต ให้ลูกทั้งๆที่ลูกโตมากแล้ว เด็กบางคน ใช้มือไม่เป็นด้วยซ้ำไป แย่ทั้งในเรื่องกำลังกล้ามเนื้อ สหสัมพันธ์ ผมว่ามันตลกนะ พ่อแม่ไทยอยากให้ลูกเก่งมากๆ แต่ดูวิธีการเลี้ยงดูเอาก็แล้วกัน นอกจากไม่ส่งเสริมแล้วยังกดศักยภาพเด็กไว้ ถ้าเด็กเก่งก็แปลกแล้วละ แค่ใส่รองเท้าตัวเองยังไม่รอดเลย จะไปทำอะไรได้ เวลาเจอโลก เจอสังคมจริงๆ ที่มันไม่มีใครมาทำให้แบบนั้น และมันก็ไม่ใช่โลกของการเอาหนังสือมาวางแข่งกัน ว่าใครเรียนมามากกว่ากัน รึสูงกว่ากัน
อีกอย่างคือมีอะไร ห้ามไว้ก่อน โดยที่พ่อแม่นั้น ไม่รู้ที่มาที่ไป เหตุและผลของการกระทำหลายๆอย่าง ในวัยเด็ก และหนักกว่านั้น คือ เมื่อตนเองไม่รู้ ไม่เข้าใจ ก็ไม่ได้คิดที่จะหาคำตอบของเรื่องราว ว่าอะไรเป็นอะไร จึงทำให้ตัดสินใจทุกอย่าง โดยเอาตัวเองเป็นเกณฑ์ ซึ่งระบบของเด็กและผู้ใหญ่นั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง
และที่หนักคูณสอง ขึ้นไปอีกก็คือ เอากระแสค่านิยม ในโลกปัจจุบัน ไปกำหนดเด็ก ที่ยังมีอายุอยู่ในช่วง 0-7 ขวบ เช่นการเรียนพิเศษ
ใครอ่านมาถึงตรงนี้ ค่อยๆทำความเข้าใจตามมานะครับ ผมไม่ได้พูดว่า เรียนไม่ดี ถ้าคิดแบบสุดโต่ง บางคนจะเถียงมาทันทีว่า ผมจะไม่ให้เรียนหนังสือใช่ไหม (พูดเอาฮารึเปล่าไม่ทราบเหมือนกันครับ ) แต่ ประเด็นคือ ผมกำลังพูดถึง
"อะไรที่เหมาะกับวัยแต่ละขวบปีต่างหาก"
หรือถ้าจะเรียน ต้องเรียนอะไร ยังไง ต่างหาก
เพราะที่ผมเห็นมาตลอด เด็กอยู่อนุบาล แต่เรียนยังกับจะไปสอบจองหงวน
เดี๋ยวเรื่องหลงทางในระบบการเรียน เราจะยกไปพูดกันหัวข้อต่อไป
เมื่อสาเหตุหลายๆอย่างที่พูดไปมารวมกัน ก็ทำให้เด็กเกิดปัญหาด้านพัฒนการทันที เช่น
- สมาธิสั้น
- กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง
- มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว
- มีบุคลิคภาพแปลกๆ รวมถึงความมั่นใจในตัวเองต่ำ เหล่านี้เป็นต้น
สิ่งที่พ่อแม่ควรจะทำมากที่สุด ในระหว่างที่ลูกยังอยู่ในวัยของพัฒนาการ
คือทำความเข้าใจ รู้เท่าทันระบบของพัฒนาการ การแสดงออกถึงการปรับพัฒนาการในตัวเด็กเอง แล้วคอยส่งเสริม ไม่ใช่เป็นเจ้าลัทธิ "ห้ามดะ" ห้ามโดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ ไม่เข้าใจอะไร
หากยกตัวอย่างง่ายๆ สมมติว่าเรารู้ ระยะนี้ลูกเรากำลังอยู่ในวัยปีนป่าย เราควรให้เค้าปีน ไม่ใช่ห้าม สิ่งที่เราควรทำคือ รออยู่ด้านหลัง ช่วยเหลือในเวลาที่ลูกพลาดเท่านั้น ไม่ต้องทำอะไรไปมากกว่านั้น การคอยห้าม การคอยอุ้ม คอยทำอะไรให้เค้า เราจะเหนื่อยครับ ซึ่งเป็นการทำอะไรที่ไร้ประโยชน์ นอกจากจะเหนื่อยปล่าวแล้ว ลูกยังถูกขัดขวางพัฒนาการไปเสียอีก
หากยกตัวอย่างง่ายๆ สมมติว่าเรารู้ ระยะนี้ลูกเรากำลังอยู่ในวัยปีนป่าย เราควรให้เค้าปีน ไม่ใช่ห้าม สิ่งที่เราควรทำคือ รออยู่ด้านหลัง ช่วยเหลือในเวลาที่ลูกพลาดเท่านั้น ไม่ต้องทำอะไรไปมากกว่านั้น การคอยห้าม การคอยอุ้ม คอยทำอะไรให้เค้า เราจะเหนื่อยครับ ซึ่งเป็นการทำอะไรที่ไร้ประโยชน์ นอกจากจะเหนื่อยปล่าวแล้ว ลูกยังถูกขัดขวางพัฒนาการไปเสียอีก
เพราะหากลูกพ้นวัยดังกล่าวไปแล้ว ต่อให้พาไปโรงพยาบาลที่มีทีมรักษาเก่งที่สุด ก็ไม่สามารถเอาพัฒนาการปกติแบบเต็ม 100% กลับมาได้
เมื่อลูกมีปัญหา เค้าก็ย่อมขาดความมั่นใจ ปัญหาอื่นๆก็ค่อยๆตามมา สุดท้ายคนที่ต้องหนักใจ และเจ็บปวดไม่ใช่ใคร ก็พ่อแม่นั้นแหละครับ
สำหรับเด็กๆที่มีโอกาสได้มาเล่นสเก็ต มาล้ม ลุก คลุก คลาน ช่วยเหลือตัวเองทุกๆอย่าง ถือเป็นเรื่องที่ดีครับ เพราะเค้าจะได้พัฒนาทักษะตัวเองได้อย่างเต็มที่
รู้จักลูก ต้องรู้จักพัฒนาการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความเห็นกันได้เต็มที่นะครับ