วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การปรับแต่งตำแหน่งของเฟรมสเก็ตขั้นสูง (how to adjust roller skate frame , advance)

การปรับแต่งตำแหน่งของเฟรมสเก็ตขั้นสูง (how to adjust roller skate frame , advance)  
        มาพบกับการปรับแต่งเฟรมของรองเท้าสเก็ตกันในตอนที่ 2 ครับ ในตอนนี้จะลงลึกในรายละเอียดให้มากขึ้น ว่าการปรับเฟรมเพื่อให้ใช้งานสเก็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ทำอย่างไร มาสรุปข้อดีของการปรับเฟรมกันอีกทีนะ

       การปรับตำแหน่งเฟรม ช่วยลดอาการกดเจ็บที่เกิดจากการใส่รองเท้าสเก็ตได้ครับ เพราะเวลาเล่นสเก็ต ขนาดพื้นที่ๆเท้าเราเหยียบอยู่ ก็เท่ากับความกว้างของเฟรมนั้นแหละ ดังนั้น ถ้าเราขยับพื้นที่ (roller skate frame) ได้ ก็เท่ากับว่าสามารถปรับตำแหน่งยืนให้ดีขึ้นได้ 
       การปรับตำแหน่งเฟรมของโรลเลอร์สเก็ตนั้น ยังส่งผลให้การทำเทคนิคการเล่นบางอย่างง่ายขึ้นอีกด้วย 
       หลังจากที่เราถอดชิ้นส่วนสเก็ต เช่นล้อ และเฟรมเสร็จเรียบร้อย ก็จัดแจงเก็บชิ้นส่วนที่ไม่ได้ใช้ในตอนนี้ ให้เรียบร้อยก่อน ก่อนทีมันจะหล่นหายไป 
       วางเฟรมลงบนเบ้าที่จะติดตั้งน๊อตให้ตรงกัน เสียบน๊อตเข้าไปทั้งสองตัวครับ
       จากนั้นก็ขันน๊อตยึดเฟรมด้วยประแจ ลงไปเพื่อให้เฟรมกับตัวบูทของสเก็ตติดกันระดับหนึ่ง ให้น๊อตกดเฟรมไว้เบาๆ เพื่อที่เราจะยังสามารถขยับตำแหน่งเฟรมได้ครับ อย่าขันตายนะครับ อ้อ การขันน๊อตให้ขันสลับ ขันตัวบนที ตัวล่างที ให้ชิ้นส่วนทุกชิ้นถูกปรับไปพร้อมๆกัน 
การปรับเฟรมสเก็ตแบบที่ 1 ปรับแบบ outside edge
        การปรับเฟรมแบบนี้ แปลตามความหมายเลยครับ outside ก็หมายถึงวางตำแหน่งเฟรมของสเก็ตไว้ด้านนอกสุด ส่วนจะออก outside มากแค่ไหนนั้นแล้วแต่ศรัทธาและความสบายเท้าเด้อ ระวัง !!! วิธีการปรับเฟรมสเก็ตนี้ ไม่เหมาะสำหรับคนที่ยังยืนข้อเท้าเอียงนะครับ เพราะข้อเท้าจะเอียงตกมากขึ้น
       เหมาะสำหรับ คนที่เจ็บตาตุ่ม หรือบริเวณกระเท้า ด้านฝั่งนิ้วก้อยนะครับ ขยับเฟรมไปแล้วจะทำให้ลงน้ำหนักได้ดีขึ้น ซึ่งผมคิดว่าเป็นอาการกดเจ็บที่พบมากที่สุดแล้ว
ภาพเมื่อมองจากด้านหน้าครับ ในแบบการปรับเฟรม outside edge ตำแหน่งเฟรมจะเลื่อนไปอยู่นอกสุดของบูทสเก็ตเลย
การปรับเฟรมสเก็ตแบบที่ 2 การปรับแบบ inside edge
       ก็นะ เมื่อปรับเฟรมไปนอกได้ ก็ปรับเฟรมเข้าข้างในได้เช่นกันครับ วิธีการปรับเฟรมแบบนี้ จะทำให้เล่นท่าเทคนิค ที่ต้องเอียง outside edge เยอะๆได้ง่ายมากขึ้น

มาดูภาพด้านหน้า ก็จะเห็นว่า ตำแหน่งเฟรมเมื่อเทียบกับบูทสเก็ต เฟรมก็จะหลบมาอยู่ด้านในมากขึ้น วิธีนี้ ก็ไม่เหมาะกับคนข้อเท้าอ่อนเหมือนเคย เพราะเราจะยืนข้อเท้าตกไปด้านนอก เรียกว่า การปรับเฟรมเหล่านี้ เหมาะกับคนที่เล่นสเก็ตเป็นระดับหนึ่งแล้ว ไม่ใช่นักสเก็ตมือใหม่นะครับ
การปรับเฟรมสเก็ตแบบที่ 3 
       การปรับเฟรมแบบนี้ ไม่ค่อยเจอ ผมก็ยังไม่เคยเจอนะ อย่างที่บอก มันเป็นความรู้สึกส่วนตัวและความชอบขณะสวมใส่สเก็ตของแต่ละคน แต่เอามาคุยกัน เพราะว่ามันสามารถทำได้ จริงๆการปรับเฟรมนั้น เราไม่ได้ปรับเอียงแบบชัดเจนขนาดในภาพหรอกนะ อาจจะเอียงแค่นิดเดียวเท่านั้น  แต่ในภาพผมต้องการให้เห็นความชัดเจน จึงจำเป็นต้องทำให้เห็นว่ามันต่างกันยังไง การปรับนั้น ต้องเล่นสเก็ตไป แล้วก็นั่งจุนไป จนกว่าจะได้ความรู้สึกอย่างที่ต้องการครับ 
การปรับเฟรมสเก็ตแบบที่ 4 
       การปรับเฟรมสเก็ตลักษณะนี้ สามารถเจอได้ครับ เพราะวิธีนี้ทำให้เราขึ้นหมุนตัว (toe spin) ได้ง่ายเหมือนกัน
การปรับเฟรมสเก็ตแบบที่ 5
       การปรับเฟรมสเก็ตแบบนี้ ดูจะเป็นมิตรกับนักสเก็ตพอสมควร ตามหลักทางสายกลาง ก็โดยการปรับตำแหน่งเฟรมให้อยู่บริเวณกึ่งกลาง(ของฝ่าเท้า) คือตรงไหนเป็นตรงกลาง คนใส่สเก็ตต้องรู้เองครับ ค่อยๆหาไป ไม่ยากหรอก เฟรมอยู่ตรงไหน แล้วสบายเท้าที่สุด ก็นั่นแหละ 
บางทีตำแหน่งของเฟรม แค่ขยับไป ไม่กี่มิล ก็ทำให้นักสเก็ตสบาย หรือปวดเท้าได้เลยครับ ดังนั้น ก็ลองคอยสังเกตตำแหน่งเฟรมที่ติดตั้งแล้ว โอเคที่สุด
       เดี๋ยวนี้รองเท้าโรลเลอร์สเก็ตพัฒนาขึ้นมาก ชิ้นส่วนน้อยลง ทำให้การปรับแต่งทำได้ง่ายๆ เพียงเข้าใจหลักสรีระนิดหน่อย โดยสังเกตจากความสบายของเท้าครับ 
เมื่อเราได้ตำแหน่งเฟรมที่พอใจแล้ว ก็เตรียมตัว ประกอบชิ้นส่วนสเก็ตอื่นๆเข้าด้วยกัน แล้วไปไถกันได้เลย แต่หากไถไป แล้วยังรู้สึกขัดๆไม่สบาย ก็มานั่งจูนกันใหม่อีกที อาจดูเสียเวลาไปนิด แต่ไม่ยากหรอกครับ เชื่อผมสิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความเห็นกันได้เต็มที่นะครับ